Thursday, February 25, 2016

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร. จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 7 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.




ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นช่วงที่อยู่ในระยะเวลาของการสอบกลางภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม





Thursday, February 18, 2016

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร. จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 17 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 6 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.


ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนในสัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มตามที่แบ่งไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อทำการพูดคุยและปรึกษาหารือเกี่ยวกับแผนการสอนในแต่ละกลุ่มของตนเอง รวมทั้งอาจารย์ยังบอกข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแผนการสอนของแต่ละกลุ่มอีกด้วย 
สำหรับการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ สิ่งสำคัญในการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะนี้ คือ การเคาะจังหวะ การสั่งคำสั่ง และการทำกิจกรรม 
ขั้นตอนการเขียนแผนการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ในหน่วยการเรียนรู้ ยานพาหนะ

แผนการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ หน่วยการเรียนรู่้ เรื่อง ยานพาหนะ



จากภาพด้านบน เป็นแผนการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ชั้นอนุบาลปีที่ 1 หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ยานพาหนะ โดยอาจารย์ได้ให้ข้อเสนอแนะในส่วนของ สาระที่ควรเรียนรู้ ซึ่งสาระที่ควรเรียนรู้ที่ถูกต้องนั้น จะเป็นดังนี้ "สาระที่ควรเรียนรู้ : ยานหาพาหนะที่ใช้พลังงาน น้ำมัน คือ รถยนต์ เรือ เครื่องบิน เป็นต้น ยานพาหนะที่ใช้พลังงานจากแรงลม คือ บอลลูน เรือใบ เป็นต้น ยานพาหนะที่ใช้พลังงานด้วย แรงคน คือ รถจักรยานยนต์ เรือพาย เป็นต้น "

นอกจากนี้อาจารย์ยังสาธิตการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้นักศึกษาดูเป็นตัวอย่าง เพื่อที่จะนำไปใช้การทดลองสอนในครั้งต่อไป โดยอาจารย์จะบอกวิธีการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะที่หลากหลายเพื่อไม่ให้การสอนในแต่ละสัปดาห์เป็นการสอนที่ซ้ำเดิมและอาจจะทำให้เด็กเกิดอาการเบื่อได้ 



การนำความรู้ไปใช้
จากการที่ได้ลองเขียนแผนการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ทำให้มีความรู้มากขึ้นในเรื่องของการเขียนแผนการสอน ทำให้เห็นแผนการสอนที่หลากหลาย มีหลายกิจกรรมและมีหลายวิชาที่สามารถเข้ามาบูรณาการในวิชาต่างๆได้ดี เช่น คณิตศาสาตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษา เป็นต้น ซึ่งความรู้ที่ได้รับในวันนี้สามารถนำไปใช้ในการฝึกสอนและการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี เป็นแนวทางในการสอนที่ดีมากคะ


ประเมินตนเอง : ช่วยเพื่อนๆในกลุ่มคิดและเขียนแผนการสอน กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ ตั้งใจจดบันทึกและฟังอาจารย์สอน เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย


ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆตั้งใจทำงานกลุ่มของตนเอง ช่วยกันทำ ช่วยกันคิดและช่วยกันเขียนแผนการสอนในกลุ่มของตนเอง ตั้งใจฟังอาจารย์สอน แต่งกายเรียบร้อย


ประเมินอาจารย์ : อาจารย์มอบความรู้ให้กับนักศึกษาเป็นอย่างดี มีการสาธิตการสอนกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะให้นักศึกษาได้ดู บอกข้อเสนอแนะและเทคนิคการสอนต่างๆอย่างครบถ้วน 







Wednesday, February 10, 2016

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร. จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 5 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.




ความรู้ที่ได้รับ
ในการเรียนสัปดาห์นี้ อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 5 คน เพื่อช่วยกันคิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำแผนการจัดประสบการณ์ใน 1 สัปดาห์
ซึ่งกลุ่มของดิฉันได้เสนอในหัวข้อเรื่อง หน่วยยานพาหนะ
โดยอาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และการทำ map เพื่อแตกความรู้ของยานพาหนะว่ามีอะไรบ้าง ซึ่งหน่วยยานพาหนะ มีดังนี้
1.ชนิดของยานพาหนะ มี 3 ประเภท คือ
     - ทางบก เช่น รถยนต์ รถไฟ รถจักรยานยนต์ รถจักรยาน เป็นต้น
     - ทางน้ำ เช่น เรือพาย เรือเครื่อง เรือใบ เป็นต้น
     - ทางอากาศ เช่น เครื่องบิน จรวด ยานอวกาศ เฮริคอปเตอร์ เป็นต้น
2. ลักษณะของยานพาหนะ คือ
     - สี เช่น ดำ ขาว แดง เป็นต้น
     - รูปทรง เช่น สี่เหลี่ยม วงรี ทรงกระบอก เป็นต้น
     - ผืนผิว เช่น เรียบ ขรุขระ มันวาว เป็นต้น
     - ขนาด เช่น เล็ก ปานกลาง ใหญ่ 
3. การใช้เชื้อเพลิง (พลังงาน) คือ น้ำมัน ไฟฟ้า แก็ส แรงลม แรงคน เชื้อเพลิง เป็นต้น
4. การดูแลรักษา คือ เช็คสภาพเครื่องยนต์ เปลี่ยนถ่ายน้ำมัน ตรวจลมยาง ล้างทำความสะอาด ตรวจสภาพเครื่องยนต์ประจำปี เป็นต้น
5. ประโยชน์ของยานพาหนะ คือ ใช้บรรทุกสินค้า ใช้ในการเดินทาง ใช้ในการขนส่ง สร้างรายได้ สร้างอาชีพ เป็นต้น
6. ข้อควรระวังของยานพาหนะ คือ สวมหมวกนิรภัยก่อนขับรถ คาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งที่เดินทาง เป็นต้น

นอกจากนี้อาจารย์ยังแนะนำเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของการทำแผนการจัดประสบการณ์ ว่า ควรคิดวัตถุประสงค์และจัดกิจกรรมให้ครอบคลุมถึงการบูรณาการวิชาต่างๆและให้จัดกิจกรรมที่รวม 6 กิจกรรมหลัก รวมถึงให้มีเนื้อหาการสอนที่บูรณาการทักษะถึงวิชาต่างๆ เช่น 
 - คณิตศาสตร์ คือ การนับจำนวน การแยกหมวดหมู่ การแยกกลุ่ม รูปทรงเรขาคณิต การวัด การเรียงลำดับ และการบวก ลบ 
 - วิทยาศาสตร์ คือ การกำหนด การตั้งสมมุติฐาน การรวบรวมข้อมูล การลงมือปฏิบัติ การสรุปผล พลังงานและการทดลอง
- สังคมศึกษา คือ การมีส่วนร่วม การร่วมมืิอ การสร้างชิ้นงานแบบร่วมมือ นิทานแบบร่วมมือ
- ภาษา คือ การร้องเพลง คำคล้องจอง ฟังนิทาน การอ่านสัญลักษณ์แทน พูด/เสนอความคิดเห็น
 - พละศึกษา คือ เกมการศึกษา การล้างมือ การดูแลรักษาตัวเอง เป็นต้น


การนำความรู้ไปใช้
จากการที่ได้ระดมความคิดและหารือและเสนอต่ออาจารย์ในหัวข้อเรื่อง หน่วยยานพาหนะ และจากการฟังคำแนะนำของอาจารย์ ทำให้ได้เรียนรู้ในเรื่องของการแตก map เพื่อให้ได้หัวข้อที่สำคัยในการที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ ซึ่งเมื่อทำการแตกความคิด map แล้ว ทำให้การเขียนแผนการจัดประสบการณ์มีความเข้าใจและง่ายขึ้นกว่าเดิม รวมถึงการคิดวัตถุประสงค์ของการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ซึ่งนำไปใช้ในการฝึกสอนและการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดีและเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในหน่วยต่อๆไปได้ดี

ประเมินตนเอง : ช่วยเพื่อนคิดหัวข้อเรื่องที่จะจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ และตั้งใจฟังในสิ่งที่อาจารย์สอนและอาจารย์แนะนำ พร้อมทั้งจดบันทึกถึงสิ่งที่อจารย์แนะนำอย่างละเอียด แต่งกายเรียบร้อย

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ตั้งช่วยกันคิดและตั้งใจทำงานภายในกลุ่มของตนเองเป็นอย่างดีเพื่อเสนอต่ออาจารย์ และตั้งใจฟังคำแนะนำของอาจารย์เป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้ความร่วมมือในการคิดของนักศึกษาแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี พร้อมแนะนำการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้อย่างละเอียด







Wednesday, February 3, 2016

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางการศึกษาปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน ดร. จินตนา สุขสำราญ
วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ 2559
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 14.30-17.30 น.



ความรู้ที่ได้รับ
การเรียนในวันนี้เป็นการนำเสนอการจัดการเรียนรู้แบบ มอนเตสซอรี่ หน้าชั้นเรียน

มอนเตสซอรี่ (Montessori)


ประวัติโดยย่อ
การเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เกิดจากแนวคิดของมาเรีย มอนเตสซอรี่ (Maria Montessori) แพทย์หญิงชาวอิตาลีที่มีความเชื่อว่า “การให้การศึกษากับเด็กในวัยเริ่มต้น ไม่ใช่การนำความรู้ไปบอกเด็ก แต่ควรเป็นการปลูกฝังให้เด็กได้เจริญเติบโตไปตามความต้องการทางธรรม ชาติของเขา” มอนเตสซอรี่เริ่มต้นนำแนวการสอนนี้ไปใช้กับเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้า โดยประดิษฐ์สื่อวัสดุอุปกรณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญในการเปิดโอกาสให้เด็กได้ค้นพบสิ่งต่างๆ ด้วยตัวเอง โดยเน้นการฝึกฝนทางด้านประสาทสัมผัสจับต้อง บิดหรือหมุนด้วยมือ เพื่อให้สมองทำหน้าที่ตอบสนองได้ เด็กๆ จะได้เรียนรู้ความสำเร็จ ความล้มเหลว รู้จักแก้ไขข้อผิดพลาดด้วยตัวเอง เกิดแรงผลักดันที่เด็กทำให้เกิดขึ้นเอง และมีระเบียบวินัยที่เกิดจากความเป็นอิสระของเด็ก โดยไม่จำเป็นต้องมีคำติชมของผู้ใหญ่ หรือการให้รางวัลและการลงโทษ มอนเตสซอรี่ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งเมื่อเด็กที่มีพัฒนาการทางสติปัญญาล่าช้าเหล่านั้นสามารถอ่าน เขียน สอบผ่านและเรียนร่วมกับเด็กปกติได้ และยังใช้ได้ผลดีกับเด็กปกติอีกด้วย วิธีการสอนของมอนเตสซอรี่จึงเป็นที่แพร่หลายไปทั่วโลก

การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่
การจัดการเรียนการสอนแบบมอนเตสซอรี่เป็นการจัดสภาพการเรียนรู้สำหรับเด็ก โดยมีครูเป็นผู้จัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมือนบ้าน และเป็นผู้ให้การสนับสนุน ให้เสรีภาพแก่เด็ก ให้คำปรึกษาและกระตุ้นให้เด็กคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ให้ใช้จิตใจซึมซับสิ่งแวดล้อม โดยครูคำนึง ถึงความสนใจ ความต้องการและความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ของเด็กและยึดหลักความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย การจัดการสอนแบบมอนเตสซอรี่จะคำนึงถึงเด็กเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างอิสระ จัดสิ่งแวดล้อมและอุปกรณ์ให้เด็กได้ฝึกทักษะกลไกผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า รู้จักควบคุมการทำงานด้วยตัวเอง เพราะมอนเตสซอรี่เชื่อว่า เด็กคือ ผู้รู้ความต้องการของตนเองและมีความสามารถที่จะซึมซับการเรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมได้ หลักสูตรของมอนเตสซอรี่สำหรับเด็กวัย 3-6 ขวบ ครอบคลุมการศึกษา 3 ด้านคือ
ด้านทักษะกลไก (Motor Education) หรือกลุ่มประสบการณ์ชีวิต มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการดูแลและจัดการสิ่งแวดล้อม การทำงานให้เสร็จสมบูรณ์ ความรับผิดชอบและการประสานสัมพันธ์ให้สมดุล เด็กจะทำกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเบื้องต้นของชีวิตประจำวัน การดูแลตนเอง การจัดการเกี่ยวกับของใช้ในบ้าน เช่น การตักน้ำ การตวงข้าว การขัดโต๊ะไม้ การเย็บปักร้อย การรูดซิป การพับและเก็บผ้าห่ม หรือมารยาทในการรับประทานอาหารเป็นต้น
ด้านประสาทสัมผัส (Education of the Senses) มีจุดประสงค์เพื่อฝึกการสังเกต การใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าเกี่ยวกับมิติ รูปทรง ปริมาตรของแข็ง ของทึบ อุณหภูมิ เด็กจะได้รู้จักทรงกระบอก ลูกบาศก์ ปริซึม แขนงไม้ ชุดรูปทรงเรขาคณิต บัตรประกอบแถบสี กระดานสัมผัส แผ่นไม้ แท่งรูปทรงเรขาคณิต กิจกรรมที่จัดให้เด็กปฏิบัติผ่านการเล่น เช่น หอคอยสีชมพู แผ่นไม้สีต่างๆ เศษผ้าสีต่างๆ รูปสี่เหลี่ยมลูกบาศก์ รูปทรงกระบอก ระฆัง กล่อง และขวดบรรจุของมีกลิ่น แท่งไม้สีแดงและแท่นวางเป็นขั้นบันได ถุงที่ซ่อนสิ่งลึกลับ เป็นต้น
ด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ (Preparation For Writing and Arithmetic) หรือกลุ่มวิชา การ มีจุดประสงค์เพื่อเตรียมเด็กเข้าสู่ระดับประถมศึกษา เตรียมตัวด้านการอ่านการเขียนโดยธรรมชาติ การประสมคำ คณิตศาสตร์ การศึกษาทางพฤกษศาสตร์ ภูมิศาสตร์ การประพันธ์เพลง การเคลื่อนไหวมือ เด็กจะเรียนเกี่ยวกับตัวเลข กล่องชุดอักษร ชุดแผนที่ เครื่องมือ โน้ตดนตรี กล่องและแท่งสี อักษรกระดาษทราย แผ่นโลหะชุดรูปทรงเรขาคณิต ชุดแต่งกาย เป็นต้น กิจกรรมที่จัดสำหรับเด็ก เช่น การคูณ การหารยาว ทศนิยม การแนะนำเลขจำนวนเต็ม 10 ด้วยลูกปัด แบบฝึกหัดการบวกและการลบ การเรียนรู้คำศัพท์ต่างๆ เรียนเรื่องส่วนที่เป็นพื้นดิน เช่น ที่ราบ ภูเขา เกาะ แหลม ฯลฯ ส่วนที่เป็นพื้นน้ำ เช่น น้ำตก ทะเลสาบ อ่าว ช่องแคบ ฯลฯ

เกร็ดความรู้เพื่อครู
ครูแบบมอนเตสซอรี่เป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก คอยให้คำแนะนำ ปรึกษา โดยเตรียมการสอนและสิ่งแวดล้อมอย่างมีจุดมุ่งหมาย ครูสาธิตการใช้อุปกรณ์ให้เด็กดูอย่างเงียบๆ เปิดโอกาสให้เด็กตัดสินใจเองว่าจะเลือกทำงานหรือฝึกหัดอุปกรณ์ชิ้นใด โดยไม่จำต้องมีคำติชม หรือการให้รางวัลและการลงโทษ และต้องไม่คาดหวังว่าเด็กทุกคนจะทำอะไรได้เหมือนกันหมด แต่ครูต้องพยายามหาทางส่งเสริมให้ทุกคนอย่างเหมาะสม

การจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่



การนำความรู้ไปใช้
จากการนำเสนอการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ ทำให้ได้ทราบถึงกระบวนการจัดการเรียนการสอนและขั้นตอนการสอนแบบมอนเตสซอรี่อีกมากมาย รวมถึงอุปกรณ์การเล่นแบบมอนเตสซอรี่ในโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ว่ามีกระบวนการจัดการสอนอย่างไร เด็กปฐมวัยถึงจะมีทักษะที่สำคัญที่ครอบคลุมถึงการศึกษาทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านทักษะกลไก ด้านประสาทสัมผัสและด้านการเขียนและคณิตศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการสอนกับทางโรงเรียนที่มีการจัดการเรียนรู้แบบมอนเตสซอรี่ได้เป็นอย่างดีและยังสามารถเก็บเกี่ยวความรู้ต่างๆของมอนเตสซอรี่ไปใช้ในการสอนในอนาคตได้เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงเวลาและตั้งใจนำเสนองานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ ตั้งใจฟังข้อเสนอแนะของอาจารย์และตั้งใจฟังกลุ่มเพื่อนๆนำเสนองาน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนมีความพร้อมที่จะนำเสนองานหน้าชั้นเรียน ทุกกลุ่มมีการนำเสนองานในรูปแบบของตนเองไม่ซ้ำใคร 

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ตั้งใจฟังนักศึกษานำเสนองานของแต่ละกลุ่มและให้ข้อเสนอแนะเพื่อนำกลับไปปรับปรุงของแต่ละกลุ่มให้มีความสมบูรณ์และดีขึ้นกว่าเดิม